ทำความรู้จักมาตรฐาน GMP

สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ในธุรกิจ “อาหารเสริม” จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจในมาตรฐานการผลิต เนื่องจากตามกฎหมายมีการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคที่ต้องได้รับอาหารที่มีความสะอาด ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ภายใต้การควบคุมมาตรฐาน GMP ของโรงงาน ซึ่งบทความนี้เราได้รวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ GMP มานำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางให้กับเจ้าของแบรนด์ใช้ในเลือกโรงงานผลิตที่คุณภาพ เหมาะสมกับการผลิต

มาตรฐาน GMP คือ

มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) คือ ระบบประกันคุณภาพและความปลอดภัย จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นเกณฑ์และข้อกำหนดต่าง ๆ สำหรับให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม เพื่อให้ได้อาหารที่มีมาตรฐานความสะอาด และความปลอดภัยในระดับสากล ช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตในโรงงานเป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยมากที่สุด 

มาตรฐาน GMP จะช่วยปกป้องและลดความเสี่ยงในกระบวนการผลิตที่อาจส่งผลให้อาหารมีสิ่งเจือปน เป็นพิษ หรือเป็นอันตราย และก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคได้

จากมาตรฐานสู่กฎหมาย GMP

มีการนำมาตรฐาน GMP มาเป็นมาตรการบังคับใช้เป็นกฎหมาย GMP ได้นําแนวทางข้อกําหนดเป็นไปตามของ Codex ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากล โดยมีการปรับข้อกำหนด รายละเอียดบางประเด็นหรือเรียกได้ว่าเป็นการปรับให้ง่ายขึ้น เพื่อให้เหมาะกับศักยภาพของผู้ผลิตอาหารในประเทศ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และนำไปใช้ได้กับสถานประกอบการทุกขนาด ทุกประเภท ทุกผลิตภัณฑ์

มาตรฐาน GMP มีกี่ประเภท

หลักเกณฑ์ GMP ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.GMP สุขลักษณะทั่วไป (General GMP)

เป็นหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่นําไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท (ปัจจุบันครอบคลุมอาหาร 57 ประเภท) และมีข้อกำหนดทั้งหมด 6 ข้อ ได้แก่

  1. สถานที่ตั้งและอาคารที่ใช้ผลิต : ต้องอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อน มีการออกแบบพื้นที่ให้มีขนาดที่เหมาะสม ง่ายต่อการรักษาความสะอาด และเอื้อต่อการปฏิบัติงาน มีการจัดแยกพื้นที่การผลิตออกเป็นสัดส่วน สามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อลดโอกาสการเกิดความชื้น หรือฝุ่นละอองจากการผลิต
  2. อุปกรณ์และเครื่องจักร : ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ก่อให้เกิดสารพิษ หรือก่อให้เกิดสนิมที่จะปนเปื้อนต่ออาหารได้ และจะต้องเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน มีจำนวนเครื่องจักรเพียงพอต่อการปฏิบัติงานในแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีการควบคุมความสะอาด ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ และจัดเก็บแยกสัดส่วนให้ถูกต้องเหมาะสม
  3. ขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต : ในทุกกระบวนการผลิตจะต้องถูกควบคุมให้ผ่านมาตรฐานหลักเกณฑ์สุขาภิบาลที่ดี ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่ใช้ ส่วนผสม ภาชนะ บรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การขนย้าย ไปจนถึงการขนส่งให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย 
  4. การสุขาภิบาลของโรงงาน : ข้อกำหนดสำหรับควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการดำเนินการผลิตทั้งหลาย อาทิ ระบบห้องน้ำ ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระบบระบายน้ำทิ้ง การป้องกันและกำจัดสัตว์และแมลง เป็นต้น 
  5. การบํารุงรักษาและการทําความสะอาดได้มาตรฐาน : เพื่อช่วยให้การดำเนินการผลิตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันสารอันตรายจากการปนเปื้อนกับอาหาร จำเป็นต้องมีการรักษาความสะอาด ในการจัดเก็บและดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ให้มีความสะอาด ได้มาตรฐานทั้งก่อนและหลังการผลิต
  6. มีบุคลากรและสุขลักษณะถูกต้องตามมาตรฐาน : ความสะอาดและความเหมาะสมสำหรับเครื่องแบบของบุคลากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงสุขภาพของบุคลากร ต้องไม่เป็นโรคอันตราย เช่น วัณโรค โรคผิวหนัง หรือโรคเรื้อน เป็นต้น

2. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP)

เป็นหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป มุ่งเน้นในเรื่องของความเสี่ยง และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เฉพาะจะมีการควบคุมที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของอาหารนั้น ๆ เช่น GMP สำหรับนม จำเป็นต้องผ่านกรรมวิธีที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อ โดยการพาสเจอร์ไรส์ก่อนจัดจำหน่าย เป็นต้น

หลักเกณฑ์ GMP ควบคุมอะไรบ้าง

หลักเกณฑ์ GMP ควบคุมตั้งแต่ สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ, โครงสร้างอาคาร จนไปถึงทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตให้มีความปลอดภัย สะอาด และได้คุณภาพที่มีมาตรฐาน ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบนับตั้งแต่ ขั้นตอนเริ่มต้นในการวางแผนการผลิต, ระบบควบคุมวัตถุดิบ, การจัดเก็บ, การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค ทั้งหมดนี้ล้วนมีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบ และติดตามคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด

ประโยชน์ของมาตรฐาน GMP

  • ช่วยในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ให้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ
  • เป็นแนวทางในการผลิต เพื่อรับประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตรงตามมาตรฐานสากล
  • ช่วยลดข้อผิดพลาด และลดโอกาสในการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
  • ขจัดปัญหาไม่ให้เกิดความผิดพลาดที่ซ้ำซ้อน และป้องกันข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
  • เพื่อควบคุมคุณภาพอาหารในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนในการผลิตในอนาคต
  • สามารถช่วยในการติดตามข้อมูลในการผลิต สะดวกต่อการตรวจสอบ
  • เป็นการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาดของโรงงาน
  • สร้างความปลอดภัยทั้งต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต และบุคลากร 
  • เพิ่มความคล่องตัวในการดูแล จัดการ และประเมินในสถานที่ผลิตได้เป็นอย่างดี

จากที่เห็นข้างต้น มาตรฐาน GMP ในแต่ละข้อนั้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิต หรือเจ้าของโรงงานต่าง ๆ มีมาตรการในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดการปนเปื้อนลงสู่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะควบคุมดูแลในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ได้แก่ สิ่งแวดล้อม อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการดําเนินงานที่อยู่ในแต่ละขั้นตอนให้มีมาตรฐาน รวมถึงการจัดการในด้านสุขอนามัย ในทุกส่วนให้มีความสะอาดปลอดภัย และสามารถการบำรุงรักษาได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับเจ้าของแบรนด์ท่านใดที่กำลังมองหาโรงงานผลิตอาหารเสริม ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP พร้อมด้วยทีมงานมืออาชีพ ร่วมคิดค้นสูตรเฉพาะภายใต้แบรนด์ของคุณ และมีบริการด้านการตลาดอย่างครบวงจร สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Maydi International  ได้ที่ 

LINE Official : @maydi
Facebook : Maydi International – OEM
Instagram : maydi_international
YouTube : Maydi International
TikTok : maydi_international  
โทร : 065-536-5155

Facebook
Twitter
Line