จะสร้างแบรนด์อาหารเสริมต้องรู้ เกณฑ์ใหม่ ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่จะใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศฉบับที่ 448 พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 5) สารอาหารเสริมวิตามินที่เหมาะสม ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลบังคับใช้เดือนกรกฎาคม 2567
โดยมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับ การปรับปริมาณวิตามินหรือแร่ธาตุในอาหารเสริม ซึ่งประกาศฯ ฉบับนี้ได้ลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 โดยจะมี ผลใช้บังคับในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
จึงได้มีการจัดประชุมชี้แจงผู้ประกอบการด้านอาหารและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบ ได้เตรียมความพร้อมในการปรับปรุงสูตร ฉลากผลิตภัณฑ์ ฉลากโภชนาการ ฉลากแบบจีดีเอ รวมถึงการกล่าวอ้างทางสุขภาพ ให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ได้อย่างถูกต้อง
การยื่นคำขออนุญาตแก้ไขผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับเลขสารบบ ก่อนวันที่ 2 ก.ค. 67
- หากยื่นขอแก้ไขอย่างอื่น ไม่ได้ขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ (เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ อายุการเก็บรักษา ที่อยู่สถานที่ผลิต/นำเข้า เป็นต้น) สามารถใช้สูตรเก่าต่อไปได้ (ระยะเวลา 3 ปี) จนถึงวันที่ 1 ก.ค. 70
- หากยื่นขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ ขอความร่วมมือให้ปรับปริมาณวิตามินและแร่ธาตุให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศฯ ฉบับที่ 448
การยื่นขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ สามารถปรับเพิ่ม/ลด ชนิด/ปริมาณ ของส่วนประกอบให้สอดคล้องตามที่ อย. กำหนด ***ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบในการสื่อสารให้ผู้บริโภครับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์และต้องแสดงส่วนประกอบบนฉลากให้ตรงตามที่ได้แจ้งแก้ไขใหม่
ตารางชนิดและปริมาณของวิตามินหรือแร่ธาตุในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามประกาศฯ
วิตามินและแร่ธาตุ |
ปริมาณต่ำสุด |
ปริมาณสูงสุด |
วิตามินบี 1 |
0.18 มิลลิกรัม (จาก 0.225 มิลลิกรัม) |
100 มิลลิกรัม (จาก 1.5 มิลลิกรัม) |
วิตามินบี 2 |
0.18 มิลลิกรัม (จาก 0.225 มิลลิกรัม) |
40 มิลลิกรัม (จาก 1.7 มิลลิกรัม) |
กรดแพนโทธีนิค |
0.75 มิลลิกรัม (จาก 0.9 มิลลิกรัม) |
200 มิลลิกรัม (จาก 6 มิลลิกรัม) |
วิตามินบี 12 |
0.36 ไมโครกรัม (จาก 0.3 ไมโครกรัม) |
600 ไมโครกรัม (จาก 2 ไมโครกรัม) |
ไบโอติน |
4.5 ไมโครกรัม (จาก 22.5 ไมโครกรัม) |
900 ไมโครกรัม (จาก 150 ไมโครกรัม) |
โครเมียม |
5.25 ไมโครกรัม (จาก 19.5 ไมโครกรัม) |
500 ไมโครกรัม (จาก 130 ไมโครกรัม) |
วิตามินเค |
9 ไมโครกรัม (จาก 12 ไมโครกรัม) |
80 ไมโครกรัม |
กรดนิโคทินิก |
2.25 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 3 มิลลิกรัมเอ็นอี) |
15 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 20 มิลลิกรัมเอ็นอี) |
แมกนีเซียม |
46.5 มิลลิกรัม (จาก 52.5 มิลลิกรัม) |
350 มิลลิกรัม (จาก 350 มิลลิกรัม) |
ฟอสฟอรัส |
105 มิลลิกรัม (จาก 120 มิลลิกรัม) |
800 มิลลิกรัม |
เหล็ก |
3.3 มิลลิกรัม (จาก 2.25 มิลลิกรัม) |
15 มิลลิกรัม |
สังกะสี |
1.65 มิลลิกรัม (จาก 2.25 มิลลิกรัม) |
15 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม |
525 มิลลิกรัม |
3,500 มิลลิกรัม |
โซเดียม |
– |
– |
วิตามินเอ |
120 ไมโครกรัมอาร์อี (จาก 120 ไมโครกรัมอาร์อี) |
800 ไมโครกรัมอาร์เออี |
วิตามินดี |
2.25 ไมโครกรัม (จาก 0.75 ไมโครกรัม) |
15 ไมโครกรัม (จาก 5 ไมโครกรัม) |
วิตามินอี |
1.35 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี (จาก 1.5 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี) |
10 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี |
นิโคตินามายด์ |
2.25 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 3 มิลลิกรัมเอ็นอี) |
20 มิลลิกรัมเอ็นอี |
วิตามินบี 6 |
0.195 มิลลิกรัม (จาก 0.3 มิลลิกรัม) |
2 มิลลิกรัม |
โฟเลต |
60 ไมโครกรัม(จาก 30 ไมโครกรัม) |
330 ไมโครกรัม ดีเอฟอี(จาก 200 ไมโครกรัม) |
กรดโฟลิก |
(คำนวณเป็นโฟเลต) |
200 ไมโครกรัม |
วิตามินซี |
15 มิลลิกรัม (จาก 9 มิลลิกรัม) |
1,000 มิลลิกรัม (จาก 60 มิลลิกรัม) |
แคลเซียม |
150 มิลลิกรัม (จาก 120 มิลลิกรัม) |
800 มิลลิกรัม |
โมลิบดินัม |
6.75 ไมโครกรัม (จาก 24 ไมโครกรัม) |
160 ไมโครกรัม |
ซีลีเนียม |
9 ไมโครกรัม (จาก 10.5 ไมโครกรัม) |
70 ไมโครกรัม (μg) |
ทองแดง |
135 ไมโครกรัม (จาก 0.3 มิลลิกรัม) |
2000 ไมโครกรัม (จาก 2 มิลลิกรัม) |
แมงกานีส |
0.45 มิลลิกรัม (จาก 0.525 มิลลิกรัม) |
3.5 มิลลิกรัม (mg) |
ไอโอดีน |
22.5 ไมโครกรัม (จาก 22.5 ไมโครกรัม) |
150 ไมโครกรัม (μg) |
ฟลูออไรด์ |
– |
– |
จะเห็นได้ว่าปริมาณวิตามินหรือแร่ธาตุอาจมีทั้งเพิ่ม-ลดปริมาณต่ำสุดและสูงสุดในอาหารเสริม นอกจากนี้ยังไม่ต้องมีโซเดียมและฟลูออไรด์เป็นสารสำคัญในอาหารเสริมแล้ว ผู้ประกอบการที่จะยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรใหม่ สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศฯ ฉบับใหม่ (ป.448) ได้เลย
แต่สำหรับอาหารเสริมที่ใช้ปริมาณวิตามินตามประกาศฉบับเก่าหรือได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ(ก่อน 2 กรกฎาคม 2567) หรือที่เรียกว่ารายเดิม ยังผ่อนผันให้ ขายต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2570 หากมีความประสงค์จะขายต่อไปต้องแก้ไขปริมาณวิตามินให้เป็นไปตามประกาศ 448
เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2570 อาหารเสริมที่จำหน่ายบนท้องตลาดจะต้องมีปริมาณสารอาหารให้เป็นไปตามที่ ประกาศฯ ฉบับที่ 448 กำหนดเท่านั้น โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://food.fda.moph.go.th/
แต่เพื่อนๆที่สนใจ สร้างแบรนด์อาหารเสริมวิตามิน ไม่ต้องกังวลใจ เพราะเรามีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญดูแลทุกขั้น พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายปริมาณวิตามิน รวมถึงร่วมคิดค้นสูตร ให้ได้ตามต้องการ สามารถปรึกษาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Maydi International บริษัทผลิตอาหารเสริม OEM ที่มีการบริการ รับผลิตอาหารเสริม และวิตามินที่เหนือระดับ
ควบคุมภายใต้มาตรฐานการผลิตในระดับสากล และครบวงจรแบบ One Stop Service ตอบโจทย์ทุกความต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริม OEM อาหารเสริมคุณภาพสูง
โทร: 065-536-5155
อีเมล: maydi@s-milesgroup.com