กฎหมายใหม่! ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุในอาหารเสริม ปี 2567

กฎหมายวิตามิน

จะสร้างแบรนด์อาหารเสริมต้องรู้ เกณฑ์ใหม่ ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่จะใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศฉบับที่ 448 พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 5)สารอาหารเสริมวิตามินที่เหมาะสม ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลบังคับใช้เดือนกรกฎาคม 2567 

โดยมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการปรับปริมาณวิตามินหรือแร่ธาตุในอาหารเสริม ซึ่งประกาศฯ ฉบับนี้ได้ลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567เป็นต้นไป 

จึงได้มีการจัดประชุมชี้แจงผู้ประกอบการด้านอาหารและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบ ได้เตรียมความพร้อมในการปรับปรุงสูตร ฉลากผลิตภัณฑ์ ฉลากโภชนาการ ฉลากแบบจีดีเอ รวมถึงการกล่าวอ้างทางสุขภาพ ให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ได้อย่างถูกต้อง 

ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

การยื่นคำขออนุญาตแก้ไขผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับเลขสารบบ ก่อนวันที่ 2 ก.ค. 67 

  • หากยื่นขอแก้ไขอย่างอื่น ไม่ได้ขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ (เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ อายุการเก็บรักษา ที่อยู่สถานที่ผลิต/นำเข้า เป็นต้น) สามารถใช้สูตรเก่าต่อไปได้ (ระยะเวลา 3 ปี) จนถึงวันที่ 1 ก.ค. 70 
  • หากยื่นขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ ขอความร่วมมือให้ปรับปริมาณวิตามินและแร่ธาตุให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศฯ ฉบับที่ 448 

การยื่นขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ สามารถปรับเพิ่ม/ลด ชนิด/ปริมาณ ของส่วนประกอบให้สอดคล้องตามที่ อย. กำหนด***ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบในการสื่อสารให้ผู้บริโภครับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์และต้องแสดงส่วนประกอบบนฉลากให้ตรงตามที่ได้แจ้งแก้ไขใหม่ 

การยื่นคำขออนุญาตแก้ไขผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ตารางชนิดและปริมาณของวิตามินหรือแร่ธาตุในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามประกาศฯ

วิตามินและแร่ธาตุ            

ปริมาณต่ำสุด                                                           

ปริมาณสูงสุด                                            

วิตามินบี 1

0.18 มิลลิกรัม (จาก 0.225 มิลลิกรัม)

100 มิลลิกรัม (จาก 1.5 มิลลิกรัม)

วิตามินบี 2

0.18 มิลลิกรัม (จาก 0.225 มิลลิกรัม)

40 มิลลิกรัม (จาก 1.7 มิลลิกรัม)

กรดแพนโทธีนิค

0.75 มิลลิกรัม (จาก 0.9 มิลลิกรัม)

200 มิลลิกรัม (จาก 6 มิลลิกรัม)

วิตามินบี 12

0.36 ไมโครกรัม (จาก 0.3 ไมโครกรัม)

600 ไมโครกรัม (จาก 2 ไมโครกรัม)

ไบโอติน

4.5 ไมโครกรัม (จาก 22.5 ไมโครกรัม)

900 ไมโครกรัม (จาก 150 ไมโครกรัม)

โครเมียม

5.25 ไมโครกรัม (จาก 19.5 ไมโครกรัม)

500 ไมโครกรัม (จาก 130 ไมโครกรัม)

วิตามินเค

9 ไมโครกรัม (จาก 12 ไมโครกรัม)

80 ไมโครกรัม

กรดนิโคทินิก

2.25 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 3 มิลลิกรัมเอ็นอี)

15 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 20 มิลลิกรัมเอ็นอี)

แมกนีเซียม

46.5 มิลลิกรัม (จาก 52.5 มิลลิกรัม)

350 มิลลิกรัม (จาก 350 มิลลิกรัม)

ฟอสฟอรัส

105 มิลลิกรัม (จาก 120 มิลลิกรัม)

800 มิลลิกรัม

เหล็ก

3.3 มิลลิกรัม (จาก 2.25 มิลลิกรัม)

15 มิลลิกรัม

สังกะสี

1.65 มิลลิกรัม (จาก 2.25 มิลลิกรัม)

15 มิลลิกรัม

โพแทสเซียม

525 มิลลิกรัม

3,500 มิลลิกรัม

โซเดียม

 –

 –

วิตามินเอ

120 ไมโครกรัมอาร์อี (จาก 120 ไมโครกรัมอาร์อี)

800 ไมโครกรัมอาร์เออี

วิตามินดี

2.25 ไมโครกรัม (จาก 0.75 ไมโครกรัม)

15 ไมโครกรัม (จาก 5 ไมโครกรัม)

วิตามินอี

1.35 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี (จาก 1.5 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี)

10 มิลลิกรัม แอลฟา-ทีอี

นิโคตินามายด์

2.25 มิลลิกรัมเอ็นอี (จาก 3 มิลลิกรัมเอ็นอี)

20 มิลลิกรัมเอ็นอี

วิตามินบี 6

0.195 มิลลิกรัม (จาก 0.3 มิลลิกรัม)

2 มิลลิกรัม

โฟเลต

60 ไมโครกรัม(จาก 30 ไมโครกรัม)

330 ไมโครกรัม ดีเอฟอี(จาก 200 ไมโครกรัม)

กรดโฟลิก

(คำนวณเป็นโฟเลต)

200 ไมโครกรัม

วิตามินซี

15 มิลลิกรัม (จาก 9 มิลลิกรัม)

1,000 มิลลิกรัม (จาก 60 มิลลิกรัม)

แคลเซียม

150 มิลลิกรัม (จาก 120 มิลลิกรัม)

800 มิลลิกรัม

โมลิบดินัม

6.75 ไมโครกรัม (จาก 24 ไมโครกรัม)

160 ไมโครกรัม

ซีลีเนียม

9 ไมโครกรัม (จาก 10.5 ไมโครกรัม)

70 ไมโครกรัม (μg)

ทองแดง

135 ไมโครกรัม (จาก 0.3 มิลลิกรัม)

2000 ไมโครกรัม (จาก 2 มิลลิกรัม)

แมงกานีส

0.45 มิลลิกรัม (จาก 0.525 มิลลิกรัม)

3.5 มิลลิกรัม (mg)

ไอโอดีน

22.5 ไมโครกรัม (จาก 22.5 ไมโครกรัม)

150 ไมโครกรัม (μg)

ฟลูออไรด์

 –

 –

ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุในอาหารเสริม

 จะเห็นได้ว่าปริมาณวิตามินหรือแร่ธาตุอาจมีทั้งเพิ่ม-ลดปริมาณต่ำสุดและสูงสุดในอาหารเสริม นอกจากนี้ยังไม่ต้องมีโซเดียมและฟลูออไรด์เป็นสารสำคัญในอาหารเสริมแล้ว ผู้ประกอบการที่จะยื่นคำขออนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรใหม่ สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศฯ ฉบับใหม่ (ป.448) ได้เลย 

แต่สำหรับอาหารเสริมที่ใช้ปริมาณวิตามินตามประกาศฉบับเก่าหรือได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ(ก่อน 2 กรกฎาคม 2567) หรือที่เรียกว่ารายเดิม ยังผ่อนผันให้ขายต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2570 หากมีความประสงค์จะขายต่อไปต้องแก้ไขปริมาณวิตามินให้เป็นไปตามประกาศ 448 

เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2570 อาหารเสริมที่จำหน่ายบนท้องตลาดจะต้องมีปริมาณสารอาหารให้เป็นไปตามที่ประกาศฯ ฉบับที่ 448 กำหนดเท่านั้น โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :https://food.fda.moph.go.th/ 

การรับรองมาตรฐานระดับสากล

แต่เพื่อนๆที่สนใจ สร้างแบรนด์อาหารเสริมวิตามิน ไม่ต้องกังวลใจ เพราะเรามีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญดูแลทุกขั้น พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายปริมาณวิตามิน รวมถึงร่วมคิดค้นสูตร ให้ได้ตามต้องการ สามารถปรึกษาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Maydi International บริษัทผลิตอาหารเสริมOEM ที่มีการบริการ รับผลิตอาหารเสริมและวิตามินที่เหนือระดับ 

ควบคุมภายใต้มาตรฐานการผลิตในระดับสากล และครบวงจรแบบ One Stop Service  ตอบโจทย์ทุกความต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริม OEM อาหารเสริมคุณภาพสูง

Facebook
Twitter
Line